นางสาววนิดา เดชนอก คบ.1 หมู่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
  คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
        คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์  หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น  5  ส่วนคือ
ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)  
    เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอรืทำงานตามความต้องการ ได้แก่
              - แป้นอักขระ (Keyboard)
              - แผ่นซีดี (CD-Rom)
              - ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนทีหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
      ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่หน่วยความจำ  (Memory Unit)
      ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4  หน่วยแสดงผล  (Output Unit)
      ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
      เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น

      ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
   1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
   2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
   3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
   4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
   5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

        ระบบคอมพิวเตอร์  หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
      การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
     ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
      ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

     ส่วนที่1 CPU
     CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมองมีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)
     ส่วนที่หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น  2 ประเภท ดังนี้
          1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
          2. หน่วยความสำรอง (Second Memory)
1.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
      เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำการทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
1.2 หน่วยความสำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำ(External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่
        ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
     


       ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น 



       การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
     หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU  มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
   1. ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
   2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
     หน่วยความจำหลัก แบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบรอม”(ROM)หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM=Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
     ลักษณะของหน่วยความจำ RAM
      หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
      ชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip)
       หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit) หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
     หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

         ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
     หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ  
      ส่วนแสดงผลข้อมูล
       ส่วนแสดงผลข้อมูล   คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์  ( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพPloter และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น จอภาพ(Monitor)Plotterเครื่องพิมพ์ (Printer) ลำโพง(Speaker)
      บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
      บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ
     หน่วยงานคอมพิวเตอร์ 
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
2.
 ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 
3.
 ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

งานที่ได้รับมอบหมาย (Assignment 2)
Search Engine หมายถึง
     Search Engine (ภาษาไทย: เสิร์ชเอนจิน) เป็นโปรแกรมในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบเว็บไซต์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ข้อมูลที่ต้องการค้นหา เรียกอย่างเป็นทางการว่า "โปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูล" ซึ่ง Search Engine สามารถสืบค้นได้ทั้งข้อความ รูปภาพ สื่อมัลติมิเดีย ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ และข้อมูลอื่น ๆ ได้ตามต้องการ โดยการกรอกคำค้นหา (Keyword) ลงไปในช่องคำค้นหาและคลิกค้นหา Search Engine ก็จะรายงานเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหานั้น ๆ ออกมาแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้เห็น ผู้ใช้งานก็จะเลือกอ่าน Title, Description ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาหรือข้อมูลที่ต้องการและคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ข้อมูลเพื่อค้นหาข้อมูลต่อไป
ประโยชน์ของ Search Engine
     Search Engine นั้นมีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตและเป็นเหมือนตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานและเว็บไซต์ ปัจจุบันผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้งานSearch Engine มากกว่าการเข้าชมเว็บไซต์โดยตรง เพราะว่าเว็บไซต์บนโลกมีมากมายหลายร้อยหลายพันล้านเว็บไซต์ และเราไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลที่เราต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด เพราะฉะนั้นผู้ใช้งานจึงใช้ Search Engine เป็นตัวกลางในการค้นหาข้อมูล เพื่อที่จะเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่ต้องการอยู่นั่นเอง
การทำงานของ Search Engine
     Search Engine แต่ละประเภทจะมีการทำงานที่คล้าย ๆ กันนั่นคือ การส่ง Web Crawler หรือSpider ไปเก็บข้อมูลเว็บไซต์ต่าง ๆ เข้ามาเก็บไว้ในระบบ เพื่อจัดทำเป็นดัชนี (Indexing) การค้นหา และเมื่อผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine ตัวโปรแกรม Search Engine ก็จะทำการประมวลผลด้วยอัลกอลิทึมการจัดอันดับ (Ranking) และนำผลลัพท์จากข้อมูลที่มีอยู่ออกมาแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้เห็น
Search Engine ที่เป็นที่นิยม
     ในปัจจุบันผู้ใช้งานในประเทศไทยจะใช้งาน Google Search Engine ซึ่งคิดเป็น % แล้วมากถึง 95% เลยทีเดียว เนื่องด้วยคุณภาพ ความเร็วในการค้นหา และลูกเล่นอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการทำ SEO ก็ควรที่จะศึกษาการทำงานของ Google เพื่อที่จะทำให้อันดับการค้นหาของเว็บไซต์ตัวเองอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้นั่นเอง
ไทยมีบอร์ด กับ Search Engine
      ไทยมีบอร์ดขับเคลื่อนโดย SMF ซึ่งในเรื่องของ SEO นั้นถือว่ามีโครงสร้างทาง On Page ที่ดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ใช้งานที่ใช้บริการเว็บบอร์ดของไทยมีบอร์ดไม่จำเป็นที่จะต้องปรับแต่งโครงสร้างใด ๆ ของเว็บบอร์ดเลย เพียงแต่ต้องทำ Off Page ใน Keyword และหน้าที่ต้องการโดยการหา Backlink เข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อที่จะทำให้อันดับการค้นหาอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้ เพราะว่าเมื่อผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลต่าง ๆ แล้วเห็นเว็บไซต์ของเราอยู่ในอันดับต้น ๆ ผู้ใช้งานก็ย่อมที่จะคลิกสู่เว็บไซต์เราเป็นแน่ เพียงแค่นี้ก็จะได้คนเข้าเว็บ (Traffic) กันแล้ว
Search Engine มี Google, Yahoo, Bing, Ask, Wikipedia, Answers เป็นต้น